การใช้เสาเข็มชนิดตอกควรจะตอกห่างจะบ้านข้างเคียงเท่าไรดี

การใช้เสาเข็มชนิดตอกควรจะตอกห่างจะบ้านข้างเคียงเท่าไรดี

 

สวัสดีครับเพื่อนๆ เนื่องจากติดภารกิจอบรมและทำกิจกรรมต่างๆของหน่วยงานเลยไม่ได้มีเวลา เขียน blog เลย แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีประชาชน ได้สอบถามเข้ามาว่า ตัวเขาสร้างบ้านอยู๋ในเขตกรุงเทพมหานคร และได้ทำการสร้างบ้าน โดยใช้เสาเข็มชนิด ” ตอก ” ทำให้ข้างบ้านร้องเรียนว่าทำไม่ได้ ขัดกับกฎหมาย โดยให้เปลี่ยนไปใช้เสาเข็มชนิด “เจาะ” ประเด็นก็คือ ผู้รับเหมาเอาเข็มเข้ามาแล้วและเริ่มตอกเข็มแล้ว ไม่อยากเปลี่ยนเข็ม พอจะมีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง

ขัดกับ กฏหมายอะไรบ้าง

ถ้าดูในกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็จะมี พรบ ควบคุมอาคาร ปี 2522 พระราชบัญญํติกรุงเทพมหานคร ควบคุมอาคารปี 2544 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกําหนดหลักเกณฑในการกอสรางอาคารและสาธารณูปโภค ปี2539 ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้ว ใน พรบ ควบคุมอาคารปี2522 และพระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร ปี2544ไม่ได้ระบุระยะห่างของการทำเสาเข็มตอก ว่าจะต้องห่างจากบ้านข้างเคียงเท่าไร แต่มีใน ประกาศกรุงเทพมหานครปี2539 ข้อ ๔.๘.๓ ถ้าตําแหน่งของเสาเข็มอยูห่างจากอาคารน้อยกว่า ๓๐ เมตร ให้ใช้ระบบเสาเข็มที่มีการเจาะดินออกบ้างหรือทั้งหมด

แล้วกฎหมายที่เกี่ยวข้องบังคับใช้ได้จริงไหม

ผู้เขียนได้พยามค้นหาข้อมูลมา นอกจากประกาศกรุงเทพมหานครฉบับนี้แล้วยังไม่มีกฎหมายตัวไหนที่จะพูดถึงระยะการตอกเข็มที่ห่างจากบ้านข้างเคียง เลย  ทั้งนี้ได้มีข้อมูลผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ ของกระทรวงมหาดไทย แจ้งว่าประกาศของ กทม. ดังกล่าวนี้ ไม่มีผลบังคับใช้ได้แล้ว เพราะว่ามีข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ออกมาบังคับใช้เมื่อ 31 ก.ค.2544 ซึ่งเนื้อหาต่าง ๆ ในประกาศ กทม. ปี 2539 ได้ถูกบัญญัติไว้ในข้อบัญญัติ กทม.ปี 2544 แล้ว ทำให้ประกาศ กทม. ดังกล่าวถูกยกเลิกไปโดยผลของกฎหมาย แต่เท่าที่ทราบข้อมูล ขณะนี้ทาง กทม. ทราบปัญหาดังกล่าวและกำลังประมวลเรื่องเสนอปรับปรุงข้อบัญญัติ กทม. ในส่วนของการใช้เสาเข็มประเภทใด ตามระยะใด เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ สรุปก็คือ ประกาศฉบับนี้ไม่สามมารถใช้ได้แล้ว

แนวทางแก้ไขปัญหา

จากประสบการณ์ของผู้เขียน ขอแนะนำเพื่อนๆที่จะสร้างบ้านนะครับ ควรศึกษาเรื่องเสาเข็มก่อนที่จะสร้างบ้านนะครับ แต่จะให้ฟันธงง่ายๆถ้าบ้านที่จะปลูกสร้าง ห่างจากบ้านใกล้เคียงน้อยกว่า 10 เมตร ควรจะใช้เข็มเจาะดีที่สุดนะครับ ขนาดผู้เขียนเองใช้เข็มเจาะยังมีปัญหาเลยนะครับเวลาเริ่มงาน มาเข้าเรื่องดีกว่า ว่าจะแก้ได้อย่างไรบ้าง

ทำบันทึกข้อตกลงกับบ้านข้างเคียง

ก่อนจะทำการก่อสร้าง ท่านเจ้าของบ้านควรไปทำความเข้าใจกับบ้านข้างเคียงก่อนนะครับ ไปกับผู้รับเหมาเลยยิ่งดี ให้ผู้รับเหมาถ่ายรูปก่อนทำและทำเอกสารลงนามบันทึกข้อตกลงไว้หากเกิดความเสียกายกับตัวบ้านจะยินดีรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขี้น

เปลี่ยนเสาเข็ม

ถ้ายังไม่เริ่มดำเนินการควรเปลี่ยนเสาเเข็มเป็นแบบเจาะดีกว่านะครับ เพื่อลดความเสี่ยงความเสียหายกับบบ้านใกล้เคียง

 

สรุป ผู้เขียนขอแนะนำว่าก่อนเพื่อนๆจะดำเนินการปลูกสร้างบ้านนั่น ควรจะพูดคุยบอกกับเพื่อนบ้านก่อนจะดำเนินการใดๆทั้งสิ้น ก่อนที่จะมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเข็มตอกหรือเข็มเจาะ นะครับ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ต่อเติมบ้าน ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง
มาเช็คสุขภาพหลังคาก่อนหน้าฝนกันดีกว่า
โปรแกรมช่วยออกแบบหรือตกแต่งภายใน Sweet Home 3D
การซ่อมแซมฝ้าเพดานสำหรับบ้านเก่าหรือบ้านมือสอง
อยากจะสร้างบ้านใช้เงินเท่าไรดี??
กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องปูผนัง กระเบื้องตกแต่ง เลือกอย่างไร
เมื่อฝนตก น้ำสามารถรั่วเข้าบ้านโดยทางใดบ้าง และต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนการวางผังบ้านหรืออาคาร
กระเบื้องเซรามิคแท้ ตราช้าง Excella :ความงาม 3 สไตล์ของหลังคาที่ตอบทุกโจทย์ความเป็นคุณ
การเปรียบเทียบคุณสมบัติและราคาของ วีว่าบอร์ด กับสมาร์ทบอร์ด
การดีดบ้านหรือยกบ้านให้สูงหนีน้ำท่วมทำอย่างไร
การเปรียบเทียบการใช้อิฐมอญ-อิฐมวลเบา ว่าใครจะดีกว่ากัน
คบเด็กสร้างบ้าน : ตอน ทำไงดีปั๊มน้ำที่บ้านทำงานทุกๆ 1 นาที !!!
6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
กระเบื้องเซรามิคแท้ ตราช้าง Excella : บททดสอบความงามข้ามกาลเวลา
HOME TIP : หลักการเสริมฮวงจุ้ยด้วยสี
เมทัลชีท ข้อดีและข้อเสีย เมื่อนำแผ่นเมทัลชีทมามุงหลังคา
โอ้ยอยากมีผนังปูนเปลือยเหมือนบ้าน Modern จัง แล้วทำอย่างไรละ ไปดูกัน
ข้อแตกต่างระหว่างคอนกรีตสำเร็จรูปกับคอนกรีตผสมมือ
กระเบื้องหลังคาตราช้าง รุ่น พรีม่า มีอะไรดี ?
วิธีหาท่อประปารั่วง่ายๆ
ต่อเติมบ้านในวันที่อากาศร้อนๆที่โครงการณุศาศิริ พระราม2
ข้อแตกต่างระหว่างมุ้งลวดแบบบานเลื่อนกับแบบม้วนเก็บ
23 เคล็ดลับวิธีการเลือกซื้อ LCD TV และ LCD Monitor
แปหลังคา อุปกรณ์สำคัญ ให้โครงสร้างบ้านแข็งแรง
อิฐมวลเบา : ข้อดีและข้อเสีย ของอิฐมวลเบาสีเทาที่ ผลิตแบบ CLC
ตัวอย่างการติดตั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่วของที่พักอาศัย
รางน้ำ : เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียของ รางน้ำสังกะสี รางน้ำสแตนเลส รางน้ำอลูมิเนียมและรางน้ำไวนิล
อยากสร้างบ้านสักหลังทำอย่างไรดี ?
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียราคาไม้ระแนงสำเร็จรูประหว่าง ไม้สำเร็จรูปเฌอร่า ไม้สำเร็จรูปคอนวูด ไม้สำเร็จร...
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียราคา ของโครงหลังคาสำเร็จรูป และ โครงหลังคารูปพรรณ
5 เหตุผลว่าทำไมต้องเป็นบ้านทรงไทยประยุกต์
งานต่อเติมในโครงการ ณุศาศิริ พระราม2 : งานรื้อถอนและงานเข็มเจาะ
บ้านจะต้องตอกเข็มหรือไม่ตรวจสอบอย่างไร
HOME TIP บ้านร้อน ใช้แผ่นสะท้อนความร้อน หรือ ฉนวนกันความร้อนดี
ก่อนคิดจะทำผนังเบาจะต้องรู้อะไรบ้าง
ประเภทของหลังคาและวัสดุมุงหลังคา เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้าน
7 วิธี เพิ่มเสน่ห์ให้บ้านไทยประยุกต์
10 เรื่องควรรู้ก่อนจะคิดจะต่อเติมบ้านหรือสร้างบ้าน
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : Zeason ความงามแห่งฤดูกาล ที่ตอบโจทย์ทุกอารมณ์ความเป็นคุณ
หอเอนเมืองรังสิต ประติมากรรมบนความสะเพร่าและความโชคร้าย
หลังคาบ้านทรงไทยประยุกต์ ที่ผู้ใช้ต่างรู้จริง…รักจริง
หลังคากระเบื้องแผ่นเรียบ ความสวยงามที่เรียบหรู
เคล็ดลับบ้านไม่ร้อน เย็นสบาย 365 วัน
Home Tip : การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : กิจกรรมดีดีที่จะเผยสไตล์จากสีสันที่เป็นคุณ
เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา ไม้สำเร็จรูปเฌอร่า ไม้สำเร็จรูปคอนวูด และไม้สำเร็จรูปตรงช้างสมาร์ทวู...
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : มาลองสัมผัสสองอารมณ์กับกระเบื้องหลังคา Contrazz ส่วนผสมของความต่างทว่...
ต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร
เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับกระเบื้องมุงหลังคาและการมุงหลังคา

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ